วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

 คุณลักษณะของ formative model (formative construct) และ Reflective model (reflective construct)

Formative model (formative construct) 

โครงสร้างโมเดลการวัดแบบก่อตัว (Formative model) เป็นการสร้างโมเดลการวัด (Measurement Model) ในลักษณะที่ตัวชี้วัด (indicator) จะเป็นสาเหตุ (Cause) ของตัวแปรแฝง สำหรับโครงสร้างโมเดลการวัดแบบสะท้อนนั้นจะพบว่าไม่มีความแปรปรวนร่วม (Covariance) ระหว่างตัวชี้วัด เนื่องจากตัวชี้วัดเหล่านั้นมาจากสาเหตุที่แตกต่างกัน (different theme) จึงไม่สามารถละเลยตัวชี้วัดตัวใดตัวหนึ่งออกจากโครงสร้างโมเดลได้ เนื่องจากจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่อง Content Validity โดยทันที ดังนั้นความครบถ้วนของนิยามตัวแปรประเภท Formative construct ที่จะส่งต่อเป็นตัวชี้วัดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

Reflective model (reflective construct) 

โครงสร้างโมเดลการวัดแบบสะท้อน (Reflective model) เป็นการสร้างโมเดลการวัด (Measurement Model) ในลักษณะที่ตัวชี้วัด (Indicators) จะเป็นผลสะท้อนที่เกิดจากตัวแปรแฝง (Latent Variable) หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตัวแปรแฝงจะเป็นตัวทำนาย (Predictor) และตัวชี้วัดจะเป็นผล (Outcome) ที่สะท้อนมาจากตัวแปรแฝงนั้นๆ สำหรับโครงสร้างโมเดลการวัดแบบสะท้อนนั้นจะพบว่ามีความแปรปรวนร่วม (Covariance) ระหว่างตัวชี้วัด เนื่องจากตัวชี้วัดเหล่านั้นสะท้อนการชี้วัดมาจากสิ่งเดียวกัน (common theme)

 ภาพ path diagram ของ formative model (formative construct)

 

ภาพ path diagram ของ reflective model (reflective construct)

 


 เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับความนิยมเทคนิคหนึ่ง คือ การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural equation modelling)

 Structural equation modeling มีข้อดีอย่างไร

การวิเคราะห์ SEM มีความสามารถในการผนวกตัวแปรแฝง (Latent Variable) และแบบจําลองการวิเคราะห์อิทธิพล (Path Analysis) เอาไว้ในแบบจําลองเดียวกัน เกิดเป็นแบบจําลองการวิเคราะห์อิทธิพลที่มีตัวแปรแฝง (Latent Variable Path Analysis) ซึ่งสามารถให้คําตอบได้พร้อมกัน จากการวิเคราะห์ว่างานวิจัยนั้นวัดตัวแปรทางทฤษฎีผ่านตัวแปรสังเกตได้เที่ยงตรง (Validity) มากน้อยเพียงใด และตัวแปรทางทฤษฎีที่ศึกษานั้นมี ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกันอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถกำหนดแบบจําลองการวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยได้หลากหลายและครอบคลุม ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมาเพียงแค่ช่วงเวลาเดียว (Cross-sectional data) และการวิเคราะห์ข้อมูลช่วงยาว (Longitudinal data) ที่มีการเก็บข้อมูลหลายครั้ง การวิเคราะห์ SEM จึงได้รับความนิยมในการนําไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยในปัจจุบัน (Raykov & Marcoulides, 2006)

 Structural equation modeling มีข้อจำกัดอย่างไร

 แม้ว่าวัตถุประสงค์หลักของการวิเคราะห์ SEM คือการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแต่หลักฐานที่ ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพียงลำพังยังไม่สามารถ ยืนยันหรือให้ข้อสรุปของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุได้ อย่างหนักแน่น (Schneider, Carnoy, Kilpatrick, Schmidt, & Shavelson, 2007) แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองยังคงเป็นแบบแผนการวิจัยสำคัญที่สามารถศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรได้ ชัดเจนและหนักแน่นมากที่สุด เพราะมีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนต่างๆ ด้วยการจัดกระทำทางการวิจัยที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างจากการศึกษาความสัมพันธ์เชิง สาเหตุโดยใช้การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปร ซึ่งเป็นการควบคุมทางสถิติที่เป็นการสมมติตัวเลขในข้อมูลตามเงื่อนไขของตัวแปรที่ควบคุมโดยที่เงื่อนไขนั้นอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงเลยก็ตาม

---------------------------------------------------------------------------------------------------

รายละเอียดเพิ่มเติม:



วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ปี 2563

การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ประจำปี 2563
“การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่เศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัล”
(Development of Human Resources to Economics and Digital Society)
วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563 มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต


รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.northbkk.ac.th/conference/


วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

นิทรรศการ "ชนชราแห่งอนาคต: นิยาม โอกาส และความท้าทายใหม่"

นิทรรศการ "ชนชราแห่งอนาคต: นิยาม โอกาส และความท้าทายใหม่"

New Aged Citizens: New Difinitions, Opportunities and Challenges
24 กุมภาพันธ์ - 29 พฤษภาคม 2559


        เหลือเวลาอีก 34 ปี ก่อนที่โลกจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2593 ประชากรของโลก 1 ใน 5 มีอายุมากกว่า 60 ปี ชนชราแห่งอนาคตกว่า 2.1 พันล้านคน จะประกอบด้วยกลุ่มคนหลากหลาย แต่ละคนมีความต้องการต่างกัน  ความต้องการที่ซับซ้อนนี้ ทำให้ชนชราในวันหน้ามีวิถีชีวิตที่หลากหลายและมาพร้อมกับทัศนคติเกี่ยวกับความแก่และความหนุ่มสาวที่ไม่ตายตัว เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าช่วยชลอความเสื่อมสภาพของร่างกาย ร่างกายที่ซ่อมแซมได้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้มนุษย์สามารถพึงพาตนเองได้มากกว่าแต่ก่อน มอบความเป็นไปได้ให้ผู้สูงอายุกลุ่มใหม่มีบทบาทเป็นทั้งผู้บริโภคและเป็นผู้บริโภคเพื่อผลิต โดยมีทักษะ ประสบการณ์และปัญญาเป็นต้นทุน ขณะที่เทคโนโลยีการสื่อสารดิจิตัล กลายเป็นสะพานเชื่อมโยงคนทุกรุ่นจากทุกแห่งเข้าด้วยกันในพื้นที่ทั้งโลกจริงและโลกเสมือนจริง การทำงานจึงไม่ถูกกำหนดด้วย "อายุ" อีกต่อไป

โซนที่ 1 อายุเป็นเพียงตัวเลข 

Zone 1 Age is just a number

        - ภาพยนตร์สั้น "2021" โดย จุฬญาณนนท์ ศิริผล
        ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอคติเกี่ยวกับความแก่และความหนุ่มสาวของคนหลายเจเนอเรชั่นที่ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยตัวเลขของ 'อายุ'
        - สื่ออินเทอร์เอคทีฟ "แก่แล้ว แก่อีก" โดยสตูดิโอ แอโรเพลน
        การเปลี่ยนแปลงของพีระมิดในประชากรโลกใน 100 ปี และการเปรียบเทียบระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระหว่างไทยกับประเทศอื่นๆ
        - แบบสอบถาม "ชนชราแห่งอนาคต" โดย ปิยกรณ์ ชัยวีรพันธ์เดช
        "คุณนึกถึงอะไร เมื่อพูดถึงคำว่า 'แก่'" แบบสอบถามนี้เปิดให้ผู้เข้าชมร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับความแก่ ความหนุ่มสาว และสังคมผู้สูงอายุ


โซนที่ 2 แก่ช้าลงและพึ่งพาตนเองได้นานขึ้น 

Zone 2 Aging slower and staying independent longer

        - อดัม กับ อีฟ โดย ถกล ขาวสอาด และ แฟบคาเฟ่ กรุงเทพ
        ประติมากรรมหุ่นชายและหญิงสแกนดิจิตัลจากหุ่นไม้แกะมือ ก่อนจะประกอบขึ้นเป็นหุ่นขนาดเท่าคนจริงจากชิ้นส่วนไม้ซีเอ็นซีร่วมกับงานพิมพ์สามมิติ เพื่อสะท้อนความเป็นไปได้ของการปลูกถ่ายและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ในอนาคต


โซนที่ 3 มีส่วนร่วมในส่วนรวม

Zone 3 Finding a place in public spaces

        - ภาพถ่ายขาวดำ โดยชำนิ ทิพย์มณี
        จากการสั่งสมประสบการณ์จากการเดินทางและการทำงานมานานกว่า 30 ปี ชำนิ ทิพย์มณี นำเสนอวิถีชีวิตของผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานอยู่ในอ.บางกล่ำ จ.สงขลา บ้านเกิด

โซนที่ 4 เป็นผู้บุกเบิกบทบาทใหม่

Zone 4 Blazing new trails

        - ภาพยนตร์สารคดี "56", "58", "63", "65", "87" โดยอภิชน รัตนาภายน และวัชรี รัตนะกรี
        - แผนที่ระบบนิเวศ โดยปิยกรณ์ ชัยวีรพันธ์เดช
        เรื่องราวและระบบนิเวศส่วนบุคคลของประไพพันธ์ แดงใจ ผู้ประกอบการท้องถิ่น วัลลภ ปัสสนานนท์ เจ้าของธุรกิจกาแฟ โรจ ควันธรรม ฟรีแลนซ์ เอนก นาวิกมูล นักเขียนอิสระ และนรา บุญทอง เจ้าของร้านหนงสือ 5 นักสร้างสรรค์ที่ยังคงมีพลังในการทำงานและการใช้ชีวิต


โซนที่ 5 ออกแบบอย่างเข้าใจ 

Zone 5 Designing with empathy

        - สื่ออินเทอร์แอ๊คทีฟ "อนุสรณ์เกษียณ" โดย ปั๊ก-อิน สตูดิโอ
        "คุณจะทำงานถึงอายุเท่าไร" คำถามสั้นๆ ที่สะท้อนถึงแง่คิดต่อความชราและการเกษียณอายุการทำงานในระบบทุนนิยมแห่งโลกยุคหลังอุตสาหกรรม

เข้าชมฟรี สอบถามข้อมูลได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ TCDC
ชั้น 5 ดิ เอ็มโพเรียม เวลา 10.30 – 21.00 (ปิดวันจันทร์) โทร 02 664 8448 ต่อ 213, 214





  คุณลักษณะของ formative model (formative construct) และ Reflective model (reflective construct) Formative model (formative construct)  ...